• ขอเชิญร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 และประชุมทางวิชาการ "การศึกษาไทยก้าวไกลสู่อนาคต" เส้นทางสู่ผู้บริหารเชี่ยวชาญ ว.PA
  • ผลได้รับการสรรหาเป็นผู้บริหารดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566
  • พระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ ๙
  • บทเรียนออนไลน์ เรื่อง เทคนิคการใช้งาน Canva (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
  • พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐
  • กำหนดการ  โครงการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 และประชุมทางวิชาการ

 

banner ftst

 

71

Banner Esaatnet

Register

 

Custom dimensions 1080x150 px

 

ขอบคุณวิดีโอจาก "นิว18 new18" ทีวีดิจิตอลช่อง 18

น้อมดวงใจ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

การศึกษาหาความรู้เป็นสมบัติที่ล้ำค่า จึงเป็นที่น่ายินดีที่มีผู้ได้สนับสนุนกิจการของโรงเรียน โดยเฉพาะที่ให้ทุนสำหรับนักเรียนที่เรียนดี ทุนนี้ก็เป็นการสนับสนุนให้นักเรียนพยายามมหาความรู้ให้ดีที่สุด เพื่อจะได้มีความก้าวหน้า ทุนที่ได้รับจึงเป็นทุนทรัพย์ ที่จะทำให้การศึกษาของอนุชนรุ่นหลังนี้มีความก้าวหน้าดี 

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

วิสัยทัศน์

มุ่งสร้างผู้บริหารมืออาชีพ เป็นเลิศทางวิชาการ ก้าวทันเทคโนโลยี และการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ ควบคู่คุณธรรม โดยใช้เครือข่ายการศึกษา สนับสนุนการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนlogo mix

 

ประวัติความเป็นมาของสมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย

ภูมิหลัง  
          ประมาณปลายปีการศึกษา 2516 ครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาและอนุบาลใน ส่วนกลาง 4-5 คน ซึ่งประกอบด้วย นายประยูร เจตะสานนท์ ครูใหญ่เอกโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ นายสะธรรม ปั้นประเสริฐ ครูใหญ่เอกโรงเรียนประถมบางแค นายจรุญ มุ่งการนา ครูใหญ่โรงเรียนพร้านีลวัชระ นายพงศ์ศักดิ์ รัตนวงศา ครูใหญ่เอกโรงเรียนประถมทวีธาภิเศก นายประเสริฐ จีนุพงศ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล กรมสามัญศึกษา นายนิพนธ์ ใจยินดี ผู้ช่วยครูใหญ่รักษาราชการแทนครูใหญ่โรงเรียนพุทธบูชา ได้นัดพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการ ที่จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทัศนงานในหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ทำให้สมาชิกได้รับประโยชน์ในการพบปะกันในครั้งนี้เป็นอันมาก ในระยะต่อมาอีกประมาณ 1 เดือน จึงได้นัดให้มีการพบปะกันระหว่าง ครูใหญ่โรงเรียนส่วนกลางอีก 2-3 ครั้ง โดยมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนต่อมาในครั้งหลังสุด เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 28 กรกฎาคม 2517 เวลา 11.30 น. ได้นัดพบกันครั้งใหญ่ที่ร้านอาหารมีชื่อข้างสะพานกรุงธนฯ แบบเฉลี่ยค่าอาหารและงดผู้ติดตาม มีครูใหญ่โรงเรียนในส่วนกลางทั้งประถมและอนุบาลเกือบทั้งหมดมาชุมนุมรับประทานอาหารร่วมกัน ทำให้เกิดความคิดในการที่จะร่วมกันจัดตั้งกันเป็นชมรมขึ้น มีการเลือกตั้งประธานชมรม (อาจารย์ปรีดา จันทรุเบกษา) รองประธานชมรมฯ (อาจารย์วรณี สุทธเวช และอาจารย์ทับทิม บุณยพัชรินทร์) และกรรมการบริหารอีก 14 คน ตามรูปแบบของระบอบประชาธิปไตย ได้จัดให้มีการศึกษาในต่างจังหวัดร่วมกัน มีการพบปะหารือเพื่อดำเนินงานในหน้าที่กันมากครั้งขึ้น และต่อมาไม่นานนักก็จัดให้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งไปยกร่างระเบียบข้อบังคับของชมรมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อให้สมาชิกครูใหญ่ทั้งหมดในส่วนกลางได้ ช่วยกันพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อใช้เป็นหลักในการดำเนินงานของชมรมฯ ต่อไป 
          ในระหว่างการดำเนินการยกร่าง ระเบียบข้อบังคับอยู่นั้น ก็ได้นำร่างฉบับแรก เข้าพบปะหารือกับผู้ใหญ่หลายท่านโดยได้มอบหมายให้ประธานชมรมฯ (อาจารย์ปรีดา จันทรุเบกษา) รองประธานชมรมฯ (อาจารย์วรณี สุนทรเวช และอาจารย์ทับทิม บุณยพัชรนทร์) และกรรมการบริหารที่ได้จากการเลือกตั้งนำไปเรียนหารือ อาทิ อาจารย์เกรียง กีรติกร ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อาจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมสามัญศึกษา อาจารย์สมาน แสงมลิ, อาจารย์ ดร.สาย ภาณุรัตน์ รองอธิบดีกรมสามัญ, อาจารย์ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ผู้อำนวยการกองการประถมศึกษาทุกท่านได้ให้ความเห็นเป็นทำนองเดียวกันว่า เป็นสิ่งที่ดีและพร้อมที่จะให้การสนับสนุนทุก ๆ ทาง 
          จากนั้นมาไม่นานนัก ระเบียบข้อบังคับชมรมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาก็ผ่านความเห็นชอบ จากคณะครูใหญ่โรงเรียนในเครือสมาชิกทั้งหมดและได้ดำเนินการให้มีการเลือกตั้งกรรมการดำเนินงานของชมรมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2518 เพื่อบริหารงานตามระเบียบข้อบังคับของชมรมฯ ต่อไป 
          จากเรื่องราวความเป็นมาที่กล่าวโดยสังเขปทั้งหมด ทำให้ชมรมฯ ได้เกิดขึ้นด้วยความระมัดระวังและตระหนักต่อภาระหน้าที่ของชมรมฯ เป็นอย่างดียิ่ง สมาชิกผู้ริเริ่มต้องเสียสละเพื่อให้เกิดเป็นชมรมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นมา สมาชิกทุกคนก็มีความปลื้มปิติต่อการที่บุคคล ซึ่งยังผลให้การดำเนินงานทางโรงเรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

การก่อตั้งชมรม 
          ชมรมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีคณะกรรมการที่เข้มแข็ง ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่จากกระทรวงศึกษาธิการ มีสมาชิกจำนวนมาก ซึ่งชมรมผู้บริหารได้เริ่มฟักตัวตั้งแต่ ปี 2516 มีคณะกรรมการบริหาร 2 ชุด ใช้เวลานาน ถึง 4 ปี และเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2518 ได้ดำเนินการยื่นขอจัดตั้งสมาคมฯ และได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นสมาคมฯ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2519 ณ บ้านเลขที่ 73 ซอยเจริญมิตร ถนนเอกมัย เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร (บ้านผู้อำนวยการวรณี สุนทรเวช) ต่อมาสมาคมฯ ได้ย้ายที่ตั้งสมาคมฯ มาอยู่ที่ คุรุสัมมาคาร พญาไท กรุงเทพฯ ปี 2531 ย้ายสำนักงานสมาคม ฯ มาอยู่ที่ 291/1 ตึกอาคารอำนวยการโรงเรียนราชวินิต ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทร. 281-2156 
          ข้อบังคับสมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีการแก้ไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง ครั้งแรก 2523 และครั้งสุดท้าย 2531 สมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาใช้อักษรย่อว่า “ส.บ.ป” หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “elementary School Administrators Association” มีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “E.S.A.A.” ต่อมาได้แก้ไขเพิ่มเติมเป็น “สมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย” ใช้อักษรย่อ “ส.บ.ท.” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Elementary School Administrators Society of Thailand” มีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “E.S.A.T.” (ประชุมครั้งที่ 3/2523 วันที่ 22-24 กันยายน 2523) 
          เครื่องหมายของสมาคมฯ เป็นรูปดวงแก้วมีเปลวเพลิงล้อมรอบ ภายในมีอักษร “ส.บ.ป.” (ส.บ.ท) ดวงแก้ว หมายถึง ผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้มีค่าดั่งดวงแก้ว เปลวเพลิง คือแสงสว่าง หมายถึง ปัญญา 
          ต่อมาปี 2531 สมาคมได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุชาดฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ได้พระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธย ย่อ “สธ” เป็นเครื่องหมายของสมาคม มีข้อความในแถบครึ่งวงกลมข้างล่างของพระนามาภิไธย ย่อ “สธ” ว่า สมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย

ban 01 activity

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการทุนการศึกษา จัดสัมมนาการประชุมสามัญประจำปีโรงเรียนเครือข่ายผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย จัดงานเกษียณอายุราชการ และมอบโลเชิดชูเดียรติ และศึกษาดูงานการศึกษาเพื่อนำกลับมาประยุกต์ใช้กับโรงเรียนในเครือข่าย

ban 02 activity

กิจกรรมผลิตรายการฯ

กิจกรรมการผลิตรายการสารคดีนวัตกรรม ก้าวใหม่การศึกษาไทย เป็นรายการสารคดีที่มุ่งเน้นในเรื่องการสื่อให้เห็นรูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมในยุคปัจจุบัน จากโรงเรียนเครือข่ายเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปรับใช้ของโรงเรียนทั้งประเทศ

ban 03 activity

กิจกรรมการกุศล

กิจกรรมการกุศลต่าง ๆ เช่นการจัดกองทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน และการเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2551

team ban

คณะกรรมการบริหาร

ชมรมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีคณะกรรมการ 2 ชุด 
ชุดที่ 1 
     อาจารย์ ปรีดา จันทรุเบกษา ประธาน  
     อาจารย์ สุธรรม ปั้นประเสริฐ เลขานุการ  
ชุดที่ 2 
     อาจารย์ จำนูญ เกียรติมงคล ประธาน  
     อาจารย์ ธงชัย สุขสวัสดิ์ เลขานุการ 

สมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย นับแต่แรกตั้งสมาคม พ.ศ. 2519-ปัจจุบัน มีนายกสมาคมฯ 4 ท่าน คือ 
     1. นายจำรูญ เกียรติมงคล ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนัง กทม. เป็นนายกสมาคมฯ เป็นคนแรก  
     2. นางสาววรณี สุนทรเวช ผู้อำนวยการ (ระดับ 9) โรงเรียนดาราคาม กทม.  
     3. คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ผู้อำนวยการ (ระดับ 9) โรงเรียนราชวินิต กทม. 
     4. ดร.บัณฑิต พัดเย็น ผู้อำนวยการ โรงเรียนราชวินิต กทม. เป็นนายกสมาคมฯ คนปัจจุบัน

โดย 1. นายกสมาคมคนแรก นายจำนูญ เกียรติมงคล (อดีตรองเลขาธิการ กปช. อดีตรองเลขาธิการ กค.) เป็นนายกสมาคมฯ 4 สมัย คือ  
     ชุดที่ 1 20 ก.ค. 2519 - 20 ก.ค. 2521 (2519 - 2521)  
     ชุดที่ 2 20 ก.ค. 2521 - 9 ส.ค. 2523 (2521 - 2523)  
     ชุดที่ 3 9 ส.ค. 2523 - 9 ส.ค. 2525 - 3 มี.ค. 2527 (2523 - 2527)  
     ชุดที่ 4 9 ส.ค. 2525 - 20 ก.ค. 2527 - 5 สิงหาคม 2531 (2527 - 2531) 
2. นางสาววรณี สุนทรเวช (อดีตรองผู้อำนวยการ ระดับ 9 โรงเรียนดาราคาม กทม) ชุดที่ 5 9 ส.ค. 2527 - 9 ส.ค. 2530 - 5 ส.ค. 2534 (2531 - 2534)  
3. คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ (อดีตผู้อำนวยการ ระดับ 9 โรงเรียนราชวินิต คนที่ 1 กทม. และอดีตวุฒิสมาชิก) เป็นนายกสมาคมฯ ตั้งแต่สมัยที่ 6 - ปัจจุบัน ชุดที่ 6 - 15 (2534 - 2536), (2536 - 2538), (2538 - 2540),(2540 - 2542), (2542 - 2544), (2544 - 2546), (2546 - 2548), (2548 - 2550), (2550 - 2552), (2552 - 2554) 
4. ดร.บัณฑิต พัดเย็น (อดีตผู้อำนวยการ โรงเรียนราชวินิต กทม.) เป็นนายกสมาคมฯ ปัจจุบัน ชุดที่ 22 (2566-2568)

ตำแหน่งเลขาธิการสมาคมฯ ตั้งแต่สมัยก่อตั้ง - ปัจจุบัน
     1. ว่าที่ร้อยตรี จรุญ มุ่งการนา เป็นเลขาธิการสมาคม ฯ คนแรก   
     2. คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์  
     3. นายธงชัย คงชนะ 
     4. นางเพ็ญพรรณ ยูวเวช  
     5. นางสมร นาคะสิงห์ 
     6. นายบุญส่ง วัฒนาการ 
     7. นายสำราญ เจริญพักตร์
     8. นายบัณฑิต พัดเย็น
     9. นายกิตติศักดิ์ กาญจนครุฑ
   10. นายชาตรี นามคุณ


คณะกรรมการบริหารสมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย ชุดที่ 22 (พ.ศ. 2566 - พ.ศ. 2568) 
     1. ดร.บัณฑิต  พัดเย็น                      นายกสมาคมฯ 
     2. ดร.เพชรรัตน์  หิรัญชาติ                อุปนายก คนที่ 1
     3. ดร.ปรพล  แก้วชาติ                      อุปนายก คนที่ 2
     4. นางอุดมศิลป์  ศรีสมบูรณ์             เหรัญญิก
     5. นางเกสรา  ไชยเบญจลาภะ          นายทะเบียน
     6. นายณัฐพัชร  ป้อมหิน                  ผู้ช่วยนายทะเบียน
     7. นายอำนวย  พุทธมี                     ฝ่ายหาทุน
     8. นายสมบูรณ์  เสาวคนธ์                ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
     9. ดร.เฉลิมชัย  อ้อเสถียร                ฝ่ายโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น
   10. ดร.ภารดี  ผางสง่า                      ฝ่ายมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา
   11. ดร.อรรถสิทธิ์  อินทร์พิบูลย์          ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ
   12. นายสมพงษ์  เมืองวัฒนะ             ฝ่ายวิชาการ
   13. นางสาวปัทมพร  อู่ทอง               ฝ่ายนันทนาการ
   14. นายเทพประทาน  ช่างสาน          ฝ่ายสวัสดิการ
   15. นางละอองศรี  สุวินัย                  ฝ่ายวัฒนธรรม
   16. นายพรภวิษย์  มนตร์วัชรินทร์       ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา
   17. นายสมคะแน  ดาษดา                 ฝ่ายสาราณียกร
   18. นายณัฐพงศ์  เลิศชีวะ                 ฝ่ายประชาสัมพันธ์
   19. นายพิชิต  แสงวาโท                   ผู้ช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์
   20. นายศรีจันทร์  ปัสสาคำ               ฝ่ายพิธีการ
   21. นายทวี  เนื่องอาชา                    ผู้ช่วยฝ่ายพิธีการ
   22. นายนันทวัฒน์  ชูภู่                     ฝ่ายกิจกรรมเด็กและเยาวชน
   23. นายชาตรี  นามคุณ                    เลขาธิการ
   24. นางนาวินี  โกวิทวิบูล                 รองเลขาธิการ คนที่ 1
   25. นายกิตติศักดิ์  กาญจนครุฑ        รองเลขาธิการ คนที่ 2

คณะกรรมการที่ปรึกษาสมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย ชุดที่ 22 (พ.ศ. 2566 - พ.ศ. 2568) 
     1. ดร.วีระ  แข็งกสิการ                   ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ    ที่ปรึกษา
     2. ดร.พิเชฐ  โพธิ์ภักดี                   รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ            ที่ปรึกษา
     3. ดร.พิเชฐร์  วันทอง                    รองเลขาธิการสำนักงานข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา   ที่ปรึกษา
     4. นางสาวพเยาว์  คงจิตต์             ประธานกรรมการที่ปรึกษา
     5. นายสำเร็จ  จันทร์โอกุล             กรรมการที่ปรึกษา
     6. ว่าที่ร้อยตรีจรุญ  มุ่งการนา         กรรมการที่ปรึกษา
     7. นายเดชา  โชคโสภณกูล           กรรมการที่ปรึกษา
     8. นางประคอง  สุวรรณาภา           กรรมการที่ปรึกษา
     9. นายสงวน  แพทองคำ               กรรมการที่ปรึกษา
    10. นายปรีดา  บุญแสง                  กรรมการที่ปรึกษา
    11. นายชลิต  พุทธรักษา               กรรมการที่ปรึกษา
    12. นางสมร  นาคะสิงห์                 กรรมการที่ปรึกษา
    13. ดร.แสงระวี  วาจาวุทธ             กรรมการที่ปรึกษา
    14. ดร.วันเพ็ญ  บุรีสูงเนิน             กรรมการที่ปรึกษา
    15. นางลัดดาวัลย์  วิเศษะภูติ        กรรมการที่ปรึกษา
    16. นายบุญธรรม  ทองไกร            กรรมการที่ปรึกษา
    17. นางพัฒนา  เกตุกาญจโน         กรรมการที่ปรึกษา
    18. นายนิพล  มังกร                      กรรมการที่ปรึกษา
    19. นางสาววาสี  ปรุงสิงห์             กรรมการที่ปรึกษา
    20. นางจงจิตร  ทรัพย์ชาตอนันต์   กรรมการที่ปรึกษา
    21. นางกาญจนา  คล้ายพุฒิ         กรรมการที่ปรึกษา
    22. นางสาวแสงดาว  เทียมทัน     กรรมการที่ปรึกษา
    23. นางเมตตา  ศิริรัตน์                กรรมการที่ปรึกษา
    24. นางสุดารัตน์  พลแพงพา       กรรมการที่ปรึกษา
    25. นางดารณี  คุณอนันต์            กรรมการที่ปรึกษา
    26. ดร.พีรานุช  ไชยพิเดช           กรรมการที่ปรึกษา
    27. นางวรุฬรัตน์  ภัทรกุลบดินทร์ กรรมการที่ปรึกษา
    28. นางสาวภัสสรา  วิเวกานนท์   กรรมการที่ปรึกษา
    29. นางจุไรรัตน์  โสนน้อย          กรรมการที่ปรึกษา